วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บล็อกประสาน

บล็อกประสานคืออะไร
บล็อกประสานคือ วัสดุก่อรับน้ำหนักที่ได้ทำการพัฒนารูปแบบให้มีรู และเดือยบนตัวบล็อก เพื่อให้สะดวกในการก่อสร้าง โดยเน้นการใช้วัตถุดิบในพื้นที่ ได้แก่ ดินลูกรัง หินฝุ่น ทราย หรือวัสดุเหลือทิ้งต่างๆที่มีความเหมาะสม นำมาผสมกับปูนซีเมนต์ และน้ำในสัดส่วนที่เหมาะสม อัดเป็นก้อนด้วยเครื่องอัดแล้วนำมาบ่ม ให้บล็อกแข็งตัวประมาณ 10 วัน จะได้คอนกรีตบล็อกที่มีความแข็งแกร่ง มีรูปลักษณะพิเศษ ที่สามารถใช้ในการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ หรือก่อเป็นถังเก็บน้ำได้อย่างรวดเร็ว สวยงาม และประหยัดกว่างานก่อสร้างทั่วไป  บล็อกประสานแบ่งการใช้งานเป็น 2 ประเภท เพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน
1. บล็อกตรงหรือทรงสี่เหลี่ยมใช้สำหรับก่อสร้างอาคาร


2. บล็อกโค้งใช้สำหรับก่อสร้างถังเก็บน้ำหรือจัดสวน



วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เครื่องจักร และอุปกรณ์เพื่อการผลิตบล็อกประสาน


เครื่องจักรที่ใช้โดยทั่วไปมีดังนี้
•  เครื่องบดร่อนวัตถุดิบ
• 
เครื่องผสม
• 
เครื่องอัดบล็อกตรง และบล็อกโค้งแบบใช้แรงคนและแบบอัดด้วยแรงดันไฮดรอลิก
• 
ชั้นวางบล็อก
• 
ตาชั่ง และอุปกรณ์การตวงวัดส่วนผสม
1. เครื่องบดร่อน

ใช้สำหรับบดร่อนวัตถุดิบที่มี เนื้อกรวดหินมาก หรือก้อนดินเกาะกันเป็นก้อนใหญ่ ถ้าวัตถุดิบที่ใช้ มีเนื้อละเอียด เล็กเป็นส่วนใหญ่ ไม่เป็นฝุ่น อาจใช้ตะแกรงร่อน ขนาดตะแกรง 3 – 4 มม. ร่อนเอาหินขนาดใหญ่ออกก็ได้ ไม่ต้องซื้อเครื่องบดร่อนให้เสียต้นทุน และค่าไฟ ในปัจจุบันเครื่องบดร่อนมี 2 รูปแบบหลัก คือแบบช่องดินออก 1 ทาง และช่องดินออก 2 ทาง แบบ 2 ทางมีข้อเสียคือ อัตราส่วนผสมของทั้ง 2 ช่องทางไม่เหมือนกัน ฉะนั้นเมื่อนำมาผลิตแล้วคุณภาพจะไม่แน่นอน และยังมีราคาเครื่องที่แพงกว่า ในการเลือกซื้ออย่าลืมศึกษาถึงขีดความสามารถในการทำงานของเครื่องจักรว่าพอกับวัตถุดิบของเราหรือไม่ ได้ความละเอียดแค่ไหน และระบบไฟฟ้าเป็นอย่างไร โดยเครื่อง 3 เฟสจะมีราคาถูก และประหยัดค่าไฟได้มากกว่าแต่ต้องลงทุนติดตั้งหม้อแปลง 3 เฟสหลักแสน
2. เครื่องผสม

เครื่องมือหลักที่ควรมี เพราะการผลิตเพื่อจำหน่ายจำเป็นต้องใช้ส่วนผสมมาก การใช้เครื่องผสม จะช่วยลดค่าแรงงาน และเพิ่มผลผลิตต่อแรงงานต่อวันได้มากกว่าการใช้การใช้แรงงานผสม นอกจากนี้เครื่องผสมที่ดีจะทำไห้การผสมส่วนผสมเป็นไปได้อย่างทั่วถึงกว่าการผสมด้วยแรงงานคน การเลือกซื้อเครื่อง ควรเลือกซื้อเครื่องที่มีกำลังเหมาะสมกับปริมาณการผลิต และระบบไฟฟ้าที่มีอยู่ ที่สำคัญอย่าลืมดูความแข็งแรงของวัสดุที่ใช้ผลิตด้วย
3. เครื่องอัดบล็อกตรง และบล็อกโค้ง
เครื่องอัดบล็อก มี 2 ประเภทคือใช้แรงงานคน(แบบมือโยก) และเครื่องอัดไฮดรอลิก การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับทุนที่มีอยู่มากกว่าปริมาณการขาย เพราะต้นทุนการผลิตต่อก้อนด้วยเครื่องไฮดรอลิกถูกกว่าเล็กน้อย ทำให้
ระยะยาวจะได้กำไรสูงกว่า แต่เครื่องอัดด้วยแรงคนสามารถตอบสนองปริมาณการขายที่เท่ากันด้วยต้นทุนรวมที่น้อยกว่า แม้ว่าใช้เงินหมุนเวียนด้านค่าแรงงานมากกว่า และไม่ต้องใช้ไฟฟ้า
เครื่องอัดด้วยแรงคน

1. เป็นเครื่องอัดด้วยแรงคนแบบมือโยก ใช้การทดแรงแบบคานงัดคานดีด
2. มีลักษณะดอก ร่องด้านใต้หลายรูปแบบ และความหนาของเหล็กที่ใช้ผลิตแต่ละแห่งจะไม่เท่ากัน
3. สามารถผลิตได้วันละประมาณ 400-800 ก้อนขึ้นอยู่กับจำนวนแรงงานและความชำนาญ
เครื่องอัดไฮดรอลิก
1. เป็นเครื่องอัดแบบอุตสาหกรรมขนาดย่อม จนถึงขนาดใหญ่ ใช้มอเตอร์เป็นตัวขับน้ำมันสร้างแรงดันในระบบไฮดรอลิก
2. อัดได้ครั้งละ 2 – 4 ก้อนสามารถผลิตได้วันละประมาณ 1000-2600 ก้อน
4.ชั้นวางบล็อกสด หลังการผลิตสามารถลดระยะเวลาและแรงงานในการเรียงบล็อก ขนาดไม่ควรกว้างเกิน 50 ซม. เพื่อให้สะดวกในการวาง ไม่ต้องเอื้อม ติดล้อเลื่อน เพื่อสามารถเคลื่อนย้ายไปสู่พื้นที่บ่มได้สะดวก
5. ตาชั่ง และอุปกรณ์ตวงวัดส่วนผสม ตาชั่งต้องมีความเที่ยงตรง และสามารถรับน้ำหนักได้มากพอที่จะชั่งวัสดุ แต่ไม่มากจนเกินไป เพราะจะทำให้ค่าที่ได้ไม่ละเอียดพอ อุปกรณ์การตวงวัดส่วนผสมต่างๆ ควรใช้อุปกรณ์ที่หาได้ง่ายตามท้องถิ่นไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง ในการตวงวัสดุถ้าใช้อุปกรณ์ชนิดไหนตวงก็ควรใช้ตัวเดิมเพื่อลดความแตกต่างจากอุปกรณ์ จะทำให้การผสมแต่ละครั้งมีความใกล้เคียงกันมากขึ้น















วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต


วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
วัตถุดิบในการผลิตบล็อกประสานมีดังนี้
1. ดิน
2. ซีเมนต์
3. น้ำสะอาด
4. ทรายละเอียด หินฝุ่น

ดินที่ใช้ในการผลิต
อย่าคิดว่าดินที่ไหนก็เหมือนกัน
ดิน เกิดจากหินที่ผุพังไปตามกาลเวลาและการกระทำจากสภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้งการพัดพาของน้ำ ลำธาร ฝนตก แดดออก และจากน้ำมือของมนุษย์ ดังนั้นดินจากแต่ละภูมิประเทศจะไม่เหมือนกัน ทั้งขนาดเม็ดดิน รูปร่าง ขนาดคละและแร่ธาตุต่างๆในดิน เมื่อมีความแตกต่างกันดังนั้นอัตราส่วนผสมที่ใช้ผลิตบล็อกก็จะแตกต่างกันไป ดังนั้นก่อนการผลิตต้องตรวจสอบก่อนว่าดินของเรามีสภาพแบบไหน

ส่วนดินที่ใช้ในการผลิตจะเป็นดินแดง
ปูนซีเมนต์
ในการผลิตบล็อกประสาน ซีเมนต์ที่ใช้จะเลือกใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 (ปูนที่ใช้ในงานโครงสร้าง เทเสา คาน เช่น ปูนตราช้างแดง TPI แดง ฯลฯ) ส่วนจะใช้ตราอะไรก็ได้ขอให้หาได้สะดวก แต่ต้องแน่ใจว่าเป็นปูนโครงสร้างจริงๆ และได้รับมาตรฐาน มอก. สาเหตุที่เลือกใช้ปูนประเภท 1 นั้นเพราะความคุ้มค่าต่อราคาสูงสุด สามารถผลิตบล็อกให้ได้กำลังตามมาตรฐานโดยใช้ปูนซีเมนต์ไม่มากเกินไป และที่สำคัญคือสะดวก สามารถหาได้ทุกที่ทั่วไทย การใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 จะให้ก้อนบล็อกประสานมีความแข็งแกร่ง ทนการกัดกร่อนของน้ำได้ดี การใช้ปูนซีเมนต์ผสม(ปูนก่อฉาบ)คุณภาพจะต่ำกว่าทำให้ต้องใช้ปูนมากขึ้นถึง 2 เท่าเพื่อให้ได้คุณภาพเท่ากัน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ปูนซีเมนต์ที่เลือกใช้ควรเป็นปูนใหม่ สด หีบห่อไม่แตก ร้าว เมื่อแกะออกมา ปูนยังเป็นผงดี ไม่จับตัวเป็นก้อนแข็ง และอย่าลืมตรวจสอบวันผลิตข้างถุง อย่าให้ผลิตมานานมาก ปูนอาจเสื่อมสภาพได้การวางเก็บควรวางเป็นชั้นๆ ในที่อากาศถ่ายเทได้ ไม่ถูกลม ฝน แสงแดดจัดๆ และในการผลิตควรนำปูนเก่ามาใช้ก่อนเมื่อหมดจึงนำปูนใหม่เข้ามาใช้หมุนเวียนไปเรื่อยๆ



น้ำสะอาด
น้ำที่ใช้ในการผสมดินซีเมนต์ต้องเป็นน้ำสะอาด ปราศจากสารเจือปน หรือสารอินทรีย์ต่างๆ ไม่มีความเป็นกรดหรือด่าง หรือคราบน้ำมัน ดังนั้นถ้าไม่แน่ใจก็ใช้น้ำสะอาดที่ใช้ดื่มได้ เพราะว่าน้ำจะเป็นตัวเข้าไปทำปฏิกิริยากับซีเมนต์โดยตรง ดังนั้นถ้าในน้ำมีสารอินทรีย์ หรือมีสภาพเป็นกรด ด่าง ก็จะทำให้ปฏิกิริยาเกิดได้ไม่เต็มที่ ทำให้ได้กำลังไม่สูงมากเท่าที่ต้องการบล็อกที่ผลิตออกมาก็จะไม่ได้มาตรฐาน
ทรายละเอียด หินฝุ่น
จะใช้ในกรณีที่ดินที่เป็นแหล่งวัตถุดิบมีสภาพไม่เหมาะสมและต้องมีการปรับปรุงคุณภาพก่อนนำมาผลิต เพื่อปรับสัดส่วนขนาดคละใหม่ให้มีความเหมาะสม วัสดุที่นำมาใช้ผสมเพื่อปรับขนาดคละ ต้องทราบแหล่งของวัตถุดิบที่แน่นอน เนื่องจากวัตถุดิบแต่ละที่คุณสมบัติจะแตกต่างกัน ทำให้เกิดความแปรปรวนได้ถ้าใช้จากคนละแหล่ง

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ขั้นตอน


ขั้นตอนการผลิตบล็อกประสาน
•  เก็บตัวอย่างวัตถุดิบ ทดสอบแหล่งวัตถุดิบเพื่อหาแหล่งที่เหมาะสมที่สุด และกำหนดส่วนผสมที่เหมาะสม
•  เตรียมวัตถุดิบ ถ้ามีความชื้นมากควรนำไปตากให้แห้งและกองเก็บวัตถุดิบในที่ร่มให้มากเพียงพอที่จะทำการผลิตตลอดฤดูฝน หากดินเป็นก้อน หรือมีมวลหยาบน้อย ควรร่อนผ่านตะแกรงขนาด 2 – 4 มม . ไม่ควรใช้ตาละเอียด เพราะจะทำให้ได้แต่เนื้อฝุ่นดิน ทำให้ก้อนบล็อกไม่มีความแข็งแรง ถ้าเนื้อดินมีก้อนใหญ่หรือมวลหยาบมากควรใช้เครื่องบดร่อน กองเก็บในที่ร่มเพื่อรอผลิต
•  ในการตวงวัตถุดิบสามารถตวงส่วนผสมได้ 2 วิธีคือ ดวงด้วยปริมาตร และการตวงวัดด้วยน้ำหนัก การตวงด้วยน้ำหนักจะทำให้การผลิตสามารถความคุมคุณภาพได้แน่นอน แต่อาจตวงโดยปริมาตรได้ซึ่งจะสะดวกรวดเร็วกว่า โดยการหาน้ำหนักของดินเต็มภาชนะตวง เช่นถังปูน แล้วคำนวณแปลงอัตราส่วนโดยน้ำหนักเป็นโดยปริมาตร ในการผสมให้คลุกเคล้าส่วนผสมแห้งหรือมวลรวมกับซีเมนต์ให้เข้ากันก่อน ในกรณีที่ดินชื้นเกาะกันเป็นก้อน การผสมกับซีเมนต์จะทำให้ส่วนผสมไม่เข้ากันดี หรือซีเมนต์ไม่สามารถแทรกเข้าไปในก้อนดินที่จับตัวเป็นก้อนได้ ทำให้ความแข็งแรงลดลง เมื่อโดนฝนจะทำให้บล็อกเป็นรูขนาดเท่าก้อนดินที่ไม่มีปูนเข้าไปผสมจึงเป็นจุดที่ต้องให้ความสำคัญ
•  ในการอัดบล็อก ควรใช้ส่วนผสมให้หมดภายใน 30 นาที.หลังจากผสมน้ำเพื่อป้องกันปูนเสื่อมก่อนอัดขึ้นรูป
•  บล็อกประสาน  ที่อัดเป็นก้อนแล้วควรผึ่งในที่ร่มอย่างน้อย 1 วัน จึงเริ่มบ่มจนอายุครบ 7 วัน
การผสมน้ำ หรือการหาปริมาณน้ำที่เหมาะสม
การหาปริมาณน้ำที่เหมาะสมทำให้สามารถอัดบล็อกได้ความหนาแน่นสูงขึ้นโดยใช้แรงอัดเท่าเดิม ทำให้ความแข็งแรงของก้อนเพิ่มมากขึ้น ในส่วนนี้หากทำรวมกับการหาสัดส่วนปูนซีเมนต์ จะทำให้สามารถลดปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์หรือลดต้นทุนได้สูงสุดถึงก้อนละ 50 สตางค์ โดยในที่นี้จะแนะนำวิธีการเติมน้ำ 2 วิธีคือ  การหาปริมาณน้ำที่เหมาะสมด้วย ถังบัวรดน้ำ

ขั้นตอนโดยสรุปดังนี้
เต็มน้ำให้เกือบเต็มถังบัวรดน้ำ ชั่งน้ำหนักบันทึกผล เติมน้ำลงในส่วนผสม จนส่วนผสมเริ่มมีความชื้น นำส่วนผสมไปอัดบล็อก พร้อมกับหาน้ำหนักก้อนที่มากที่สุดที่สามารถอัดได้โดยไม่ใช้แรงมากเกินไป บันทึกผล น้ำหนักถังบัวรดน้ำ และน้ำหนักบล็อกสูงสุด ทำซ้ำโดยการเติมน้ำเพิ่ม และหาน้ำหนักก้อนสูงสุด ทำซ้ำจนกระทั่งเมื่ออัดบล็อกแล้วจะมีน้ำถูกบีบออกมากจากก้อนซึ่งจะเป็นจุดที่มีปริมาณน้ำในก้อนมากเกินพอดี ที่จุดนี้ก้อนบล็อกที่อัดได้จะเสียรูปขณะที่ยกออกมาจากเครื่องอัด หรือเกิดการแอ่นตัวอย่างเห็นได้ชัด เมื่อได้จุดที่มีปริมาณน้ำมากเกินพอดีให้บันทึกค่าไว้ ส่วนปริมาณน้ำที่เหมาะสมที่ใช้ในการผลิตคือปริมาณน้ำ ก่อนถึงจุดที่บล็อกจะมีน้ำถูกบีบออกมาจากก้อนโดยใช้น้ำหนักต่อก้อนเท่ากับน้ำหนักที่ได้จากการทดสอบ

คุณสมบัติพิเศษ



คุณสมบัติพิเศษของ อิฐบล็อกประสาน


o   
ก่อสร้างง่าย รวดเร็ว ประหยัดต้นทุน และค่าแรง โดยไม่จำเป็นต้องใช้แบบเสา วงกบ ไม้แบบ และการฉาบปูน


o   
ทำเป็นชิ้นส่วนได้...แยกสร้างเป็นส่วนๆ ได้ เช่น บันได คาน พื้น เสา กำแพง เป็นต้น


o   
สามารถสร้างแบบชั่วคราวและถาวรได้


o   
บล็อกมีการระบายหรือถ่ายเทอากาศ ทำให้ประหยัดพลังงานได้


o   
ใช้เหล็ก ปูนซีเมนต์ ไม้ สี เป็นส่วนประกอบน้อยกว่า ทำให้ประหยัดมากขึ้น (ประหยัดปูนซีเมนต์ได้

30-50%)
o   
มีความสวยงามตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องทาสี


o   
ช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม**โดยลดการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อนำมาใช้






วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ความแตกต่างระหว่างอาคารบล็อกอิฐประสานกับอาคารคอนกรีต

ความแตกต่างระหว่างอาคารบล็อกประสาน กับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
• 
งบประมาณการก่อสร้าง
• 
โครงสร้างอาคาร
• 
ความคงทนแข็งแรง อายุของอาคาร และวิธีการป้องกัน
• 
งบประมาณการก่อสร้าง
การ ก่อสร้างอาคารบล็อกประสานโดยใช้ระบบผนังหรือเสาบล็อกรับน้ำหนักจะทำให้เกิด ความ ประหยั ด งบประมาณการก่อสร้างมากกว่าเมื่อเทียบกับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีระบบ ฐานราก และหลังคาเหมือนกันโดยมีรายละเอียดที่ ทำ ให้เกิดความประหยัดดังต่อไปนี้
ฐานราก
•  ใช้ได้ทั้งฐานเข็ม และฐานแผ่
•  ระบบงานคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้ได้ทั้งฐานเข็ม และฐานแผ่
•  ขนาดฐานรากต่อจุดจะมีขนาดใหญ่กว่าระบบผนังรับน้ำหนัก เพราะมีน้ำหนักลงต่อจุดมากกว่า
•  รูป แบบฐานแผ่ที่ใช้ อาจเป็นฐานกำแพง มีลักษณะเป็นฐานแผ่ เทยาวไปตามกำแพง หรือผนัง และฐานเชื่อมต่อกับแผ่นพื้น สำหรับกรณีบ้านชั้นเดียวที่พื้นรับน้ำหนักได้ดี การทรุดตัวของบ้าน , ดิน ต่ำ
ใช้การเทพื้นคอนกรีตขนาดใหญ่แล้วก่อบล็อกขึ้นมาโดยตรง กรณีที่ดินมีค่าการทรุดตัวต่ำ และไม่มีน้ำท่วมขัง


เสา
•  เสาบล็อกประสาน
•  พิลาสเตอร์ ( ผนังส่วนที่ยื่นออกมาจากแนวปกติเพื่อช่วยพยุงผนังทั้งผืนไว้) บัทเทรส ( เสาเชื่อมกับผนังรับน้ำหนัก )
ผนังตัดกัน เป็นเสารับน้ำหนัก
•  เสาคอนกรีต
•  เสาเหล็ก


คาน
•  ใช้ผนังรับน้ำหนัก
คานบล็อกประสาน ( หน้าตัดจะใหญ่ขึ้นประมาณ 2-3 เท่า เนื่องจากรับแรงเฉือนไม่ดี ) จึงไม่แนะนำให้ใช้

•  คานคอนกรีต
•  คานเหล็ก


ผนัง
•  ผนังบล็อกประสาน ( ระบบผนังรับน้ำหนัก)
•  คานบล็อกประสานทับหลัง

•  ผนังก่ออิฐมอญ , บล็อก , อิฐมวลเบา
•  ผนังสำเร็จรูป
•  ผนังเบา ( โครงเคร่าไม้ )
•  เสาเอ็น , คานทับหลัง


พื้น
•  ในระบบผนังรับน้ำหนักพื้น ต้องทำหน้าที่ยึดผนังในทิศทางต่างๆ และ ส่งถ่ายแรงในแนวราบ จึงควรใช้พื้นคอนกรีตแบบหล่อในที่

•  พื้นคอนกรีต
•  พื้นสำเร็จ
•  พื้นไม้


บันได
•  บันไดบล็อกประสาน
•  บันได คอนกรีต , เหล็ก , ไม้


หลังคาเหมือนงานคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วไป แต่บล็อกประสานจะมีจุดถ่ายน้ำหนักมากขึ้น อาจใช้เหล็กลดลง

ความคงทนแข็งแรง อายุของอาคาร และวิธีการป้องกัน
 การรับน้ำหนักโครงสร้าง
•  การทำรายการคำนวณการรับน้ำหนักโครงสร้างโดยวิศวกร
• 
การตรวจสอบคุณสมบัติวัสดุก่อนใช้งาน
• 
การก่อสร้างถูกต้องตามมาตรฐาน
 การป้องกันการสึกกร่อนตามธรรมชาติ
•  ส่วนที่อยู่ใต้ดินควรฉาบป้องกัน
• 
ส่วนที่อยู่ภายนอกอาคาร , ผนังภายนอก ควรทาน้ำยากันซึม ป้องกันเชื้อราและตะไคร่น้ำโดยใช้น้ำยาเคลือบประเภท ไซรอกเซน ไซเลน (ตามท้องตลาดจะเรียกว่า Water Repellent หรือ น้ำยาที่ใช้เคลือบหิน หินทรายทั่วไป ) เป็นซิลิโคนใสมีทั้งแบบเป็นมันเงา และแบบด้าน เมื่อทาแล้วจะซึมลงไปในเนื้อหินทำให้ไม่ลอกออกมาเมื่อถูกแสงแดดจัดๆ
• 
ฉาบป้องกันผิวบล็อก 2 - 3 ชั้นล่างสุด หรือประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร ป้องกันความชื้น และการซึมของน้ำที่ขังอยู่ที่พื้นเข้าภายในอาคาร และยังช่วยป้องกันการกัดเซาะจากน้ำฝน
• 
ดีที่สุดควรอยู่ใต้ชายคาที่มีระยะยาวพอสมควร
เทคนิคและขั้นตอนการก่อสร้างอาคารด้วยบล็อกประสาน
1. อุปกรณ์ในการก่อสร้างอาคารบล็อกประสาน
 • 
บัว รดน้ำ สำหรับหยอดน้ำปูน พร้อมที่ผสมน้ำปูน หรือเครื่องฉีดน้ำปูน
• 
ค้อนยาง สำหรับจัดเรียงก้อนบล็อก
• 
สายเอ็น ปักเต้า ลูกดิ่ง ระดับน้ำช่วยในการวางแนวนอน ดิ่ง
• 
สายยางน้ำ หรือกล้องระดับ สำหรับการหาระดับ
• 
ทราย หรือที่ยาแนว หรือดินลูกรังยาแนว สำหรับป้องกันน้ำปูนไหลตอนหยอดน้ำปูน
• 
ถุงมือ ป้องกันมือถลอกในการเคลื่อนย้ายบล็อก
• 
เครื่องตัดเหล็กไฟฟ้า ในกรณีที่ไม่มี หรือมีบล็อกครึ่งก้อนไม่เพียงพอ
• 
สว่างไฟฟ้า ใช้เจาะเพื่อเสียบยึดเหล็กในชั้นแรก
2. ตำแหน่งการเสริมเหล็กทั่วไปเพื่อป้องกันรอยแตกร้าว
•  เหล็กแนวนอนในผนัง เสริมที่บล็อกชั้นแรก และชั้นบนสุดปลายผนัง เสริมเหล็ก 12 มม. 1 เส้น ตลอดแนวผนัง เพื่อป้องกันรอยแตกร้าว
• 
เหล็กแนวตั้ง เสริมเหล็ก 9 มม.ลงในรูทุกระยะ 1 เมตร และ จุดตัดของผนังที่มีบล็อกสองทางมาชนกัน หรือทุกรูที่ก่อบล็อกเป็นมุมฉาก
• 
รอบช่องเปิดประตู หน้าต่าง เสริมเหล็ก 12 มม.สองชั้น รอบช่องเปิดทั้งด้านบน ล่าง ส่วนด้านซ้ายและขวาของช่องเปิดเสริมเหล็ก 9 มม. ป้องกันกันรอยแตกร้าวที่มุมช่องเปิด
• 
การเสริมเหล็กโครงสร้างอื่นๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบของวิศวกร
3. การทำฐานราก และส่วนต่อเนื่อง
โดย ปกติจะไม่มีการเตรียมยื่นเหล็กจากพื้น เพื่อสอดในผนังบล็อกประสาน ยกเว้นส่วนเสาบล็อกประสานที่ภายในเป็นเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือเสาบล็อกกลวงจะยื่นเหล็กขึ้นมาช่วยยึด ภายในเสา
4. หลังจาก เทปูนส่วนฐาน คาน หรือพื้นเรียบร้อยแล้ว ในขั้นตอนการก่อบล็อก ทำโดยวางผังดึงแนวเอ็นตามแนวผนังห้อง และตำแหน่งเสา
5. หาระดับสูงต่ำบริเวณที่จะก่อบล็อก
6. วางบล็อกตัวยู ด้านล่าง เรียงตามแนวผนังห้องจนเต็มตามรูปแบบที่ต้องการ โดยพยายามวางเรียงให้ชิดกันเหมือนงานก่อจริง
7. กำหนดจุดที่จะเสริมเหล็กในแนวตั้ง ตามแบบก่อสร้าง, จุดตัดของผนังหรือเสา ในแนวผนัง เสริมเหล็ก 9 มม.ทุก 1 เมตร ยาวประมาณ 1 เมตร หรือตามระยะฝังถึงใต้วงกบ จะไม่เสริมเหล็กยาวถึงสุดผนัง เพราะในการวางบล็อกจะทำให้ต้องยกบล็อกสูงสุดก่อนร้อยลงรู ทำให้เสียเวลามาก
8. ใช้สว่านเจาะพื้นตามตำแหน่งเหล็กที่จะเสริมเสียบเหล็กเสริมยึดด้วยปูนทราย
9. ก่อ บล็อกทำระดับให้ก้อนแรกสูงเท่ากันทั้งหลัง โดยเริ่มก่อจากจุดที่สูงที่สุด ไม่ควรเริ่มก่อจากจุดต่ำเพราะปูนทรายที่รองในจุดที่สูงอาจไม่เพียงพอ หรือไม่สามารถก่อได้เพราะบล็อกจะสูงกว่าก้อนต่ำ หลังจากก่อก้อนแรกแล้วดึงเอ็นไว้ที่แนวริมก้อนแรก ก่อทำระดับกระจายออกไปเรื่อยๆ ในส่วนที่เป็นประตูไม่ต้องก่อปูนทราย แต่ยังคงวางแนวก้อนบล็อกไว้ เพื่อให้แนวบล็อกส่วนที่อยู่เหนือทับหลังจะสามารถเรียงชนได้พอดี
10. วาง เรียงบล็อกตามแนวเอ็น และดิ่งให้ได้ระดับที่ต้องการ โดยส่วนใหญ่ชั้นที่จะหยุดหยดน้ำปูนจะเป็นชั้นที่เรียงบล็อกร่องยูพอดี ที่ระดับใต้วงกบ เพื่อป้องกันรอยแตกร้าวในผนัง
11. ผสมน้ำปูนทรายสำหรับหยอดลงในรู อัตราส่วน ปูนต่อทราย 1 ต่อ 2 สำหรับอาคารที่ออกแบบเป็นบล็อกรับน้ำหนักโครงสร้าง และอัตราส่วน 1 ต่อ 3 สำหรับอาคารที่ออกแบบเป็นบล็อกตกแต่ง เติมน้ำให้มีความเหลวสามารถไหลได้ แต่น้ำปูนไม่แยกตัวกับทราย ที่อัตราส่วน ปูนต่อน้ำ W/C ratio 0.80
12. ใช้สายยางรดน้ำก้อนบล็อกให้ดูดน้ำจนชุ่ม เพื่อป้องกัน บล็อกดูดน้ำในน้ำปูนจนแห้งปิดรู
13. ใช้กระป๋องบัวรดน้ำที่ถอดฝักบัวออก ในการหยอดน้ำปูน
14. ก่อน หยอดน้ำปูน เขย่ากระป๋องบัวที่ใส่น้ำปูนเพื่อไม่ให้ทรายตกตะกอน หยอดลงในรูจนเกือบเต็ม เว้นให้น้ำปูนอยู่ต่ำกว่าระดับผิวรูเพื่อให้วางบล็อกชั้นถัดไปได้
15. ในกรณีที่น้ำปูนรั่วออกตามร่อง ให้ใช้ทรายแห้งปิดรูไว้ น้ำปูนจะดูดกับทรายแห้งปิดรูเองตามธรรมชาติ
16. เมื่อ หยอดน้ำปูนเสร็จ ให้ใช้ฟองน้ำเช็ดรอยน้ำปูนที่รั่ว และทรายที่อุดรูไว้ออกจนสะอาด ไม่ใช้สายยางฉีดล้าง เพราะแรงน้ำจะทำให้น้ำปูนที่อยู่ในรูไหลออกมาด้วย
17. รอให้น้ำปูนแห้งอย่างน้อย 2-3 ชม.ก่อน เรียงชั้นต่อไป ในขั้นนี้จะเสริมเหล็กแนวตั้งเมื่อเรียงบล็อกได้ถึงระดับที่ต้องการใช้เหล็ก เส้นต่อไปผูกด้วยลวดผูกเหล็กให้ได้ระยะทาบเหล็กประมาณ 30 เซนติเมตร จากเหล็กเส้นเดิมพอดี
18. ชั้นบนสุดใช้บล็อกร่องยู เรียงเป็นคานทับหลัง เสริมเหล็กนอน ยึดผนังทั้งหลังให้เชื่อมต่อกันเป็นผืนเดียว จุด นี้อาจตัดเหล็กแนวตั้งให้เสมอพอดีขอบผนังเพราะไม่ต้องการระยะทาบแล้ว ยกเว้นส่วนที่ต้องการยึดโครงหลังคาให้ยื่นเหล็กเผื่อออกมาตามต้องการ
19. ส่วนโครงสร้างหลังคาก่อสร้างตามปกติ