วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ความแตกต่างระหว่างอาคารบล็อกอิฐประสานกับอาคารคอนกรีต

ความแตกต่างระหว่างอาคารบล็อกประสาน กับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
• 
งบประมาณการก่อสร้าง
• 
โครงสร้างอาคาร
• 
ความคงทนแข็งแรง อายุของอาคาร และวิธีการป้องกัน
• 
งบประมาณการก่อสร้าง
การ ก่อสร้างอาคารบล็อกประสานโดยใช้ระบบผนังหรือเสาบล็อกรับน้ำหนักจะทำให้เกิด ความ ประหยั ด งบประมาณการก่อสร้างมากกว่าเมื่อเทียบกับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีระบบ ฐานราก และหลังคาเหมือนกันโดยมีรายละเอียดที่ ทำ ให้เกิดความประหยัดดังต่อไปนี้
ฐานราก
•  ใช้ได้ทั้งฐานเข็ม และฐานแผ่
•  ระบบงานคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้ได้ทั้งฐานเข็ม และฐานแผ่
•  ขนาดฐานรากต่อจุดจะมีขนาดใหญ่กว่าระบบผนังรับน้ำหนัก เพราะมีน้ำหนักลงต่อจุดมากกว่า
•  รูป แบบฐานแผ่ที่ใช้ อาจเป็นฐานกำแพง มีลักษณะเป็นฐานแผ่ เทยาวไปตามกำแพง หรือผนัง และฐานเชื่อมต่อกับแผ่นพื้น สำหรับกรณีบ้านชั้นเดียวที่พื้นรับน้ำหนักได้ดี การทรุดตัวของบ้าน , ดิน ต่ำ
ใช้การเทพื้นคอนกรีตขนาดใหญ่แล้วก่อบล็อกขึ้นมาโดยตรง กรณีที่ดินมีค่าการทรุดตัวต่ำ และไม่มีน้ำท่วมขัง


เสา
•  เสาบล็อกประสาน
•  พิลาสเตอร์ ( ผนังส่วนที่ยื่นออกมาจากแนวปกติเพื่อช่วยพยุงผนังทั้งผืนไว้) บัทเทรส ( เสาเชื่อมกับผนังรับน้ำหนัก )
ผนังตัดกัน เป็นเสารับน้ำหนัก
•  เสาคอนกรีต
•  เสาเหล็ก


คาน
•  ใช้ผนังรับน้ำหนัก
คานบล็อกประสาน ( หน้าตัดจะใหญ่ขึ้นประมาณ 2-3 เท่า เนื่องจากรับแรงเฉือนไม่ดี ) จึงไม่แนะนำให้ใช้

•  คานคอนกรีต
•  คานเหล็ก


ผนัง
•  ผนังบล็อกประสาน ( ระบบผนังรับน้ำหนัก)
•  คานบล็อกประสานทับหลัง

•  ผนังก่ออิฐมอญ , บล็อก , อิฐมวลเบา
•  ผนังสำเร็จรูป
•  ผนังเบา ( โครงเคร่าไม้ )
•  เสาเอ็น , คานทับหลัง


พื้น
•  ในระบบผนังรับน้ำหนักพื้น ต้องทำหน้าที่ยึดผนังในทิศทางต่างๆ และ ส่งถ่ายแรงในแนวราบ จึงควรใช้พื้นคอนกรีตแบบหล่อในที่

•  พื้นคอนกรีต
•  พื้นสำเร็จ
•  พื้นไม้


บันได
•  บันไดบล็อกประสาน
•  บันได คอนกรีต , เหล็ก , ไม้


หลังคาเหมือนงานคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วไป แต่บล็อกประสานจะมีจุดถ่ายน้ำหนักมากขึ้น อาจใช้เหล็กลดลง

ความคงทนแข็งแรง อายุของอาคาร และวิธีการป้องกัน
 การรับน้ำหนักโครงสร้าง
•  การทำรายการคำนวณการรับน้ำหนักโครงสร้างโดยวิศวกร
• 
การตรวจสอบคุณสมบัติวัสดุก่อนใช้งาน
• 
การก่อสร้างถูกต้องตามมาตรฐาน
 การป้องกันการสึกกร่อนตามธรรมชาติ
•  ส่วนที่อยู่ใต้ดินควรฉาบป้องกัน
• 
ส่วนที่อยู่ภายนอกอาคาร , ผนังภายนอก ควรทาน้ำยากันซึม ป้องกันเชื้อราและตะไคร่น้ำโดยใช้น้ำยาเคลือบประเภท ไซรอกเซน ไซเลน (ตามท้องตลาดจะเรียกว่า Water Repellent หรือ น้ำยาที่ใช้เคลือบหิน หินทรายทั่วไป ) เป็นซิลิโคนใสมีทั้งแบบเป็นมันเงา และแบบด้าน เมื่อทาแล้วจะซึมลงไปในเนื้อหินทำให้ไม่ลอกออกมาเมื่อถูกแสงแดดจัดๆ
• 
ฉาบป้องกันผิวบล็อก 2 - 3 ชั้นล่างสุด หรือประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร ป้องกันความชื้น และการซึมของน้ำที่ขังอยู่ที่พื้นเข้าภายในอาคาร และยังช่วยป้องกันการกัดเซาะจากน้ำฝน
• 
ดีที่สุดควรอยู่ใต้ชายคาที่มีระยะยาวพอสมควร
เทคนิคและขั้นตอนการก่อสร้างอาคารด้วยบล็อกประสาน
1. อุปกรณ์ในการก่อสร้างอาคารบล็อกประสาน
 • 
บัว รดน้ำ สำหรับหยอดน้ำปูน พร้อมที่ผสมน้ำปูน หรือเครื่องฉีดน้ำปูน
• 
ค้อนยาง สำหรับจัดเรียงก้อนบล็อก
• 
สายเอ็น ปักเต้า ลูกดิ่ง ระดับน้ำช่วยในการวางแนวนอน ดิ่ง
• 
สายยางน้ำ หรือกล้องระดับ สำหรับการหาระดับ
• 
ทราย หรือที่ยาแนว หรือดินลูกรังยาแนว สำหรับป้องกันน้ำปูนไหลตอนหยอดน้ำปูน
• 
ถุงมือ ป้องกันมือถลอกในการเคลื่อนย้ายบล็อก
• 
เครื่องตัดเหล็กไฟฟ้า ในกรณีที่ไม่มี หรือมีบล็อกครึ่งก้อนไม่เพียงพอ
• 
สว่างไฟฟ้า ใช้เจาะเพื่อเสียบยึดเหล็กในชั้นแรก
2. ตำแหน่งการเสริมเหล็กทั่วไปเพื่อป้องกันรอยแตกร้าว
•  เหล็กแนวนอนในผนัง เสริมที่บล็อกชั้นแรก และชั้นบนสุดปลายผนัง เสริมเหล็ก 12 มม. 1 เส้น ตลอดแนวผนัง เพื่อป้องกันรอยแตกร้าว
• 
เหล็กแนวตั้ง เสริมเหล็ก 9 มม.ลงในรูทุกระยะ 1 เมตร และ จุดตัดของผนังที่มีบล็อกสองทางมาชนกัน หรือทุกรูที่ก่อบล็อกเป็นมุมฉาก
• 
รอบช่องเปิดประตู หน้าต่าง เสริมเหล็ก 12 มม.สองชั้น รอบช่องเปิดทั้งด้านบน ล่าง ส่วนด้านซ้ายและขวาของช่องเปิดเสริมเหล็ก 9 มม. ป้องกันกันรอยแตกร้าวที่มุมช่องเปิด
• 
การเสริมเหล็กโครงสร้างอื่นๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบของวิศวกร
3. การทำฐานราก และส่วนต่อเนื่อง
โดย ปกติจะไม่มีการเตรียมยื่นเหล็กจากพื้น เพื่อสอดในผนังบล็อกประสาน ยกเว้นส่วนเสาบล็อกประสานที่ภายในเป็นเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือเสาบล็อกกลวงจะยื่นเหล็กขึ้นมาช่วยยึด ภายในเสา
4. หลังจาก เทปูนส่วนฐาน คาน หรือพื้นเรียบร้อยแล้ว ในขั้นตอนการก่อบล็อก ทำโดยวางผังดึงแนวเอ็นตามแนวผนังห้อง และตำแหน่งเสา
5. หาระดับสูงต่ำบริเวณที่จะก่อบล็อก
6. วางบล็อกตัวยู ด้านล่าง เรียงตามแนวผนังห้องจนเต็มตามรูปแบบที่ต้องการ โดยพยายามวางเรียงให้ชิดกันเหมือนงานก่อจริง
7. กำหนดจุดที่จะเสริมเหล็กในแนวตั้ง ตามแบบก่อสร้าง, จุดตัดของผนังหรือเสา ในแนวผนัง เสริมเหล็ก 9 มม.ทุก 1 เมตร ยาวประมาณ 1 เมตร หรือตามระยะฝังถึงใต้วงกบ จะไม่เสริมเหล็กยาวถึงสุดผนัง เพราะในการวางบล็อกจะทำให้ต้องยกบล็อกสูงสุดก่อนร้อยลงรู ทำให้เสียเวลามาก
8. ใช้สว่านเจาะพื้นตามตำแหน่งเหล็กที่จะเสริมเสียบเหล็กเสริมยึดด้วยปูนทราย
9. ก่อ บล็อกทำระดับให้ก้อนแรกสูงเท่ากันทั้งหลัง โดยเริ่มก่อจากจุดที่สูงที่สุด ไม่ควรเริ่มก่อจากจุดต่ำเพราะปูนทรายที่รองในจุดที่สูงอาจไม่เพียงพอ หรือไม่สามารถก่อได้เพราะบล็อกจะสูงกว่าก้อนต่ำ หลังจากก่อก้อนแรกแล้วดึงเอ็นไว้ที่แนวริมก้อนแรก ก่อทำระดับกระจายออกไปเรื่อยๆ ในส่วนที่เป็นประตูไม่ต้องก่อปูนทราย แต่ยังคงวางแนวก้อนบล็อกไว้ เพื่อให้แนวบล็อกส่วนที่อยู่เหนือทับหลังจะสามารถเรียงชนได้พอดี
10. วาง เรียงบล็อกตามแนวเอ็น และดิ่งให้ได้ระดับที่ต้องการ โดยส่วนใหญ่ชั้นที่จะหยุดหยดน้ำปูนจะเป็นชั้นที่เรียงบล็อกร่องยูพอดี ที่ระดับใต้วงกบ เพื่อป้องกันรอยแตกร้าวในผนัง
11. ผสมน้ำปูนทรายสำหรับหยอดลงในรู อัตราส่วน ปูนต่อทราย 1 ต่อ 2 สำหรับอาคารที่ออกแบบเป็นบล็อกรับน้ำหนักโครงสร้าง และอัตราส่วน 1 ต่อ 3 สำหรับอาคารที่ออกแบบเป็นบล็อกตกแต่ง เติมน้ำให้มีความเหลวสามารถไหลได้ แต่น้ำปูนไม่แยกตัวกับทราย ที่อัตราส่วน ปูนต่อน้ำ W/C ratio 0.80
12. ใช้สายยางรดน้ำก้อนบล็อกให้ดูดน้ำจนชุ่ม เพื่อป้องกัน บล็อกดูดน้ำในน้ำปูนจนแห้งปิดรู
13. ใช้กระป๋องบัวรดน้ำที่ถอดฝักบัวออก ในการหยอดน้ำปูน
14. ก่อน หยอดน้ำปูน เขย่ากระป๋องบัวที่ใส่น้ำปูนเพื่อไม่ให้ทรายตกตะกอน หยอดลงในรูจนเกือบเต็ม เว้นให้น้ำปูนอยู่ต่ำกว่าระดับผิวรูเพื่อให้วางบล็อกชั้นถัดไปได้
15. ในกรณีที่น้ำปูนรั่วออกตามร่อง ให้ใช้ทรายแห้งปิดรูไว้ น้ำปูนจะดูดกับทรายแห้งปิดรูเองตามธรรมชาติ
16. เมื่อ หยอดน้ำปูนเสร็จ ให้ใช้ฟองน้ำเช็ดรอยน้ำปูนที่รั่ว และทรายที่อุดรูไว้ออกจนสะอาด ไม่ใช้สายยางฉีดล้าง เพราะแรงน้ำจะทำให้น้ำปูนที่อยู่ในรูไหลออกมาด้วย
17. รอให้น้ำปูนแห้งอย่างน้อย 2-3 ชม.ก่อน เรียงชั้นต่อไป ในขั้นนี้จะเสริมเหล็กแนวตั้งเมื่อเรียงบล็อกได้ถึงระดับที่ต้องการใช้เหล็ก เส้นต่อไปผูกด้วยลวดผูกเหล็กให้ได้ระยะทาบเหล็กประมาณ 30 เซนติเมตร จากเหล็กเส้นเดิมพอดี
18. ชั้นบนสุดใช้บล็อกร่องยู เรียงเป็นคานทับหลัง เสริมเหล็กนอน ยึดผนังทั้งหลังให้เชื่อมต่อกันเป็นผืนเดียว จุด นี้อาจตัดเหล็กแนวตั้งให้เสมอพอดีขอบผนังเพราะไม่ต้องการระยะทาบแล้ว ยกเว้นส่วนที่ต้องการยึดโครงหลังคาให้ยื่นเหล็กเผื่อออกมาตามต้องการ
19. ส่วนโครงสร้างหลังคาก่อสร้างตามปกติ
 










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น